วิสัยทัศน์
"เป็นศูนย์กลางพัฒนาและขับเคลื่อนสมุนไพร
เพื่อเศรษฐกิจแบบบูรณาการและครบวงจรของประเทศ"
พันธกิจ
1. อำนวยการการดำเนินการของคณะกรรมการนโยบายสมุนไพรแห่งชาติ และคณะอนุกรรมการที่เกี่ยวข้อง
2. ประเมิน รายงานผล และจัดทำข้อเสนอการพัฒนาสมุนไพรภายใต้แผนปฏิบัติการด้านสมุนไพรแห่งชาติอย่างต่อเนื่อง
และเป็นระบบ
3. พัฒนาและส่งเสริมศักยภาพของผู้ประกอบการและอุตสาหกรรมสมุนไพรให้มีความเข้มแข็งตลอดห่วงโซ่อุปทาน
4. สนับสนุนและส่งเสริมความร่วมมือจังหวัดเมืองสมุนไพรและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาสมุนไพรทั้งภาครัฐ
เอกชน และประชาชน
อำนาจหน้าที่
1. อำนวยการการดำเนินงานของคณะกรรมการนโยบายสมุนไพรแห่งชำติและอนุกรรมการที่เกี่ยวข้อง
2. จัดทำแผนปฏิบัติการ แผนงบประมาณ รวมทั้งเร่งรัด ติดตาม ประเมินผลการปฏิบัติงาน และจัดทำข้อเสนอการพัฒนา
สมุนไพรภายใต้แผนแม่บทแห่งชาติ ว่าด้วยการพัฒนาสมุนไพร
3. ประสาน และสนับสนุนการขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านการพัฒนาสมุนไพรและจัดทำรายงาน ประจำปี
4. ดำเนินการวิเคราะห์ วิจัย สังเคราะห์ข้อมูลทางการตลาดของสมุนไพรทั้งในและต่างประเทศ รวมถึง ข้อมูลการรับรู้
และความเชื่อมั่นของประชาชนต่อสมุนไพรไทย
5. พัฒนาระบบและสนับสนุนกระบวนการแจ้งรายละเอียด การจดแจ้งและขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์สมุนไพร
6. ดำเนินการรับรองคุณภาพมาตรฐานผลิตภัณฑ์สมุนไพร
7. สนับสนุนระบบการจัดการเกี่ยวกับการกล่าวอ้างด้านสุขภาพของผลิตภัณฑ์สมุนไพร
8. ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย
ยุทธศาสตร์/แผนปฏิบัติราชการ
- โครงการขับเคลื่อนเชิงนโยบายด้านสมุนไพรและพัฒนาอุตสาหกรรมตลอดห่วงโซ่คุณค่า
- โครงการส่งเสริมและสนับสนุนผู้ประกอบการภายใต้พระราชบัญญัติผลิตภัณฑืสมุนไพร พ.ศ. 2562
เพื่อเพิ่มศักยภาพการแข่งขัน - โครงการ MMC World (MED TECH – MED CANN - CISW SUMMIT) ประจำปี 2022 ณ สาธารณรัฐมอลตา
คำรับรองหน่วยงาน
ทิศทางการดำเนินงานของหน่วยงาน
มาตรการที่ 1 : ประสานงาน อำนวยการ และขับเคลื่อนการพัฒนาสมุนไพรภายใต้คณะกรรมการนโยบายสมุนไพรแห่งชาติ
คณะกรรมการและคณะอนุกรรมการฯ ที่เกี่ยวข้อง
มาตรการที่ 2 : ติดตาม ประเมิน และจัดทำรายงานสถาการณ์การพัฒนาสมุนไพรอย่างต่อเนื่องเป็นระบบและข้อเสนอที่เกี่ยวข้อง
ภายใต้แผนปฏิบัติการด้านสมุนไพรแห่งชาติ
มาตรการที่ 3 : รับรองและจัดทำข้อมูลผู้ประกอบการสมุนไพร เพื่อส่งเสริมสนับสนุนให้สิทธิประโยชน์ผู้ประกอบสมุนไพร
มาตรการที่ 4 : กำหนดมาตรการส่งเสริมความร่วมมือด้านการผลิตสมุนไพรและผลิตภัณฑ์สมุนไพรระหว่างภาครัฐและเอกชน
มาตรการที่ 5 : สนับสนุนและส่งเสริมความร่วมมือของหน่วยงานในระดับต่างๆ จังหวัดเมืองสมุนไพรและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ในการพัฒนาสมุนไพรทั้งภาครัฐ เอกชน และประชาชน